เกี่ยวกับโครงการ

หลักการและเหตุผล

    หน่วยหลักของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทั้งประเทศ คือการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในสังคม ซึ่งการจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรโดยรวมนั้น จำเป็นต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนเพื่อให้ชุมชนเกิดการพัฒนาจนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
    ปัจจุบันจำนวนเด็กพิการและทุพพลภาพในสังคมมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมเล็กๆภายใต้สถานสงเคราะห์ มูลนิธิ หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือโดยตรง ทั้งนี้การที่จะทำให้สังคมเหล่านั้นมีแนวทางในการดำเนินชีวิต และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องปลูกฝังค่านิยมที่ดี มีตัวอย่างในการประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน รวมไปถึงการเสริมสร้างสุขภาพกายและจิตใจ เพื่อให้ใช้ชีวิตในสังคมและเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่คนในชุมชน ซึ่งเด็กพิการและทุพพลภาพดังกล่าวนั้นล้วนมีความสามารถและมีความสามารถ ความมานะ มุ่งมั่นที่จะกระทำสิ่งใดเพื่อให้ประสบผลสำเร็จได้เช่นเดียวกับคนปกติทั่วไปได้
    ดังนั้นจึงก่อให้เกิดแนวคิดในการจัดโครงการเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนแก่เด็กพิการและทุพพลภาพขึ้น โดยจัดขึ้นภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า "แบ่งรอยยิ้ม ปันความสุข"

วัตถุประสงค์

1.    เพื่อช่วยเหลือน้องๆเด็กพิการและทุพพลภาพให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.    เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม

เป้าหมาย


1.    มีพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ภายในองค์กรเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการอย่างน้อย 10 ราย
2.    มีผู้ร่วมบริจาคสิ่งของที่จำเป็น เงินทุน และอุปกรณ์การศึกษา

ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
    การดำเนินโครงการจะอยู่ในช่วงวันที่ 4 มิถุนายน 2554 ถึงวันที่ 12 สิงหาคม 2554
    กิจกรรมของโครงการจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2554 เวลา 11.00 – 15.00 น.


สถานที่ในการจัดกิจกรรม

    สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด (บ้านนนทภูมิ) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.    ติดต่อไปยังหน่วยงานผู้รับผิดชอบ เพื่อสอบถามวันและเวลาที่เหมาะสม
2.    จัดกิจกรรมระดมทุนและจัดซื้อสิ่งของ และอุปกรณ์ที่จำเป็น
3.    จัดกิจกรรม ดังนี้
       3.1.    การมอบของบริจาค
4.    สรุปข้อมูลการจัดกิจกรรม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.    หน่วยงานสถานสงเคราะห์มีสิ่งของที่จำเป็นและทุนการศึกษาสำหรับน้องๆเด็กพิการ
2.    มีการสานต่อแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนเด็กพิการและทุพพลภาพไปยังหน่วยงานอื่นๆเพิ่มขึ้น